วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมโรคภาวะซึมเศร้า
'2-9-8 Q' รหัสนวัตกรรมเฝ้าระวัง โรคซึมเศร้า

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ!

350 ล้านคน คือ ตัวเลขของคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั่วโลก
มากมายถึงขนาดที่องค์การอนามัยโลกกําหนดให้การป้องกันแก้ไขภาวะซึมเศร้าเป็นหัวใจสําคัญหลักของการรณรงค์ เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) ประจําปี 2012 ภายใต้สโลแกนว่าภาวะซึมเศร้า : วิกฤติ โลก” (Depression : A Global Crisis) โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกเร่งรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาโรคซึม เศร้า ซึ่งเป็นภัยเงียบของสุขภาพ ที่หากไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลกระทบรุนแรง ทําให้ทํางานหรือเรียนหนังสือไม่ได้ กลายเป็นภาระการดูแลรักษาอันดับ 1 ของทั่วโลกในอีก 18 ปีข้างหน้า หรือใน พ.ศ.2573
ในส่วนของประเทศไทย ข้อมูลของศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต รายงานว่าขณะนี้คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 1.5 ล้านคน หรือประมาณ 3.3% ของประชากรทั้งหมด ในจํานวนนี้มีเพียง 1 ใน 4 คนเท่านั้นที่ เข้าถึงการรักษา ซึ่งข้อมูลการให้บริการของสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 100 คน มี โอกาสเข้าถึงบริการได้รับการวินิจฉัยและรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น


โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต ได้ดําเนินโครงการระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด มาตั้งแต่ ปี 2549 น่าร่องที่ ยโสธร ก่อนจะขยายผลไปใน 4 จังหวัด คือ มุกดาหาร สงขลา นครสวรรค์ และ กําแพงเพชร และ ขยายผลไปทั่วประเทศในปี 2555 ทําให้อัตราการเข้าถึงบริการรักษาโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจาก 3.7% เป็น 21.67 %
นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผอ.รพ.พระศรีมหาโพธิ์ อธิบายว่า ก่อนจะพูดถึงโรคซึมเศร้า ต้องแยกระดับของอาการซึมเศร้า ออกเป็น 3 ส่วนหลักๆก่อน คือ อารมณ์เศร้า (Sadness) เป็นสภาวะอารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับบุคคลทุก เพศทุกวัย มักเกิดขึ้นร่วมกับความรู้สึกสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัด ทรมาน ซึ่งตรงนี้ยังไม่ถือว่าเป็นอาการ ป่วย ภาวะซึมเศร้า (Depression) เป็นอาการเศร้าที่มากเกินควร และนานเกินไป ไม่ดีขึ้น แม้ได้รับกําลังใจหรืออธิบาย ด้วยเหตุผล มักมีความรู้สึกด้อยค่า รู้สึกผิด อยากตาย ภาวะที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน กิจวัตรประจําวัน และสังคมทั่วไป และ โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) ซึ่งเป็นโรคของสมอง ที่เกิดจากความบกพร่องของสาร สื่อประสาท อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของชีวเคมีในสมอง Serotonin, Nor-epinephrine ที่ทําให้ เกิดภาวะซึมเศร้า ส่งผลให้มีภาวะผิดปกติทั้งร่างกายและจิตใจ
คุณหมอธรณินทร์ บอกว่า การดําเนินโรคของโรคซึมเศร้า มีทั้งอาการเรื้อรังและเป็นซ้ํา อาการเกิดโรคเป็นช่วงๆ หาย บ้าง ทุเลาบ้าง และสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก โดยระยะเวลาของการเกิดอาการที่ไม่ได้รับการรักษาจะอยู่ประมาณ 3-16 เดือน



จากการศึกษาพบว่า โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุถึง 70% ที่ทําให้คนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และต้องทรมานในภาวะ ไร้สมรรถภาพมากเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิงไทย รองจากโรคเบาหวานและ โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า รุนแรงจะจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสําเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า
กรมสุขภาพจิต โดย รพ.พระศรีมหาโพธิ์ ได้พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่สําคัญในระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า โดยใช้แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คําถาม แบบประเมินอาการซึมเศร้าด้วย 9 คําถาม และแบบประเมินฆ่าตัวตาย ด้วย 8 คําถาม" 2 คําถามที่ว่านั้น สามารถคัดกรองได้โดยคนในครอบครัว อสม.ในพื้นที่ โดยถามว่า ใน 2 สัปดาห์ที่ ผ่านมารวมถึงวันนี้ ท่านรู้สึก หดหูเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง หรือไม่ และ ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ ท่านรู้สึกเบื่อ ทํา อะไรก็ไม่เพลิดเพลินหรือไม่
ถ้าผู้ตอบตอบว่ารู้สึกทั้ง 2 ข้อ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรองด้วยแบบประเมิน 9 คําถาม โดยวัดระดับคะแนนตั้งแต่ ไม่มีเลย เป็นบางวัน เป็นบ่อย เป็นทุกวัน ถ้าคะแนนน้อยกว่า 7 คะแนนแสดงว่าไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก 7-12 คะแนน มีอาการของโรคซึมเศร้าระดับเล็กน้อย 13-18 คะแนน มีอาการระดับปานกลาง แต่ถ้ามากกว่า 19 คะแนน ถือว่าป่วยซึมเศร้าระดับรุนแรง ต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้าแทบทุกโรงพยาบาลมียา รักษาโรคซึมเศร้า ที่ชื่อ Fluoxetine ที่ราคาไม่แพง และสามารถรักษาโรคซึมเศร้าให้หายได้
และเนื่องจากโรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นําไปสู่การฆ่าตัวตายมากที่สุดปัจจัยหนึ่ง หากประเมินด้วยแบบ 9Q หรือ 9 คําถามแล้วพบว่ามีอาการของโรคในระดับรุนแรง ก็จะต้องเข้าสู่การประเมินด้วย 8 ค่าถาม ซึ่งเป็นแบบประเมินภาวะ ฆ่าตัวตาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมซ้ำซากในผู้ป่วยซึมเศร้า



คณหมอวชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เสริมว่า ขณะนี้กรมสุขภาพจิตได้จัดระบบเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับ จังหวัด โดยอบรมแพทย์ พยาบาลวิชาชีพกว่า 5,000 คน และอบรม อสม.เพื่อเร่งค้นหาผู้ที่มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึม เศร้า โดยการคัดกรองหาผู้ที่มีความเศร้าในชุมชนต่างๆ และโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อนําผู้ป่วยเข้าสู่การดูแลรักษา อย่างต่อเนื่องโดยการรักษาด้วยยาหรือจิตบําบัด ตั้งเป้าจะเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ที่มีปัญหาให้ได้ไม่ต่ํากว่าร้อย ละ 70 ซึ่งจะช่วยให้สามารถป้องการปัญหาการฆ่าตัวตายได้สัญญาณบอกเหตุอาการของโรคซึมเศร้าที่สามารถสังเกตตัวเองและคนรอบข้างได้ เช่น มีอารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว, ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง, สมาธิเสีย ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทําสิ่งต่างๆ, รู้สึกอ่อนเพลีย, เชื่องช้า ทําอะไรก็ เชื่องช้าไปหมด, รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง, นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง, ตําหนิตัวเอง อันนี้ เป็นเรื่องสําคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า และมีการพยายามฆ่าตัวตายถ้ามีอาการ 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน สงสัยได้เลยว่าคุณหรือคนรอบข้างอาจจะกําลังป่วยด้วยโรคซึม เศร้าแล้ว
อ้างอิงจาก
https://www.thairath.co.th/content/303172

9 สัญญาณเตือนบ่งบอก โรคซึมเศร้า

ใกล้ตัวจนน่ากลัว! พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ชี้ 9 สัญญาณเตือนบ่งบอก โรคซึมเศร้า
ถ้าดูจากสถิติการเสียชีวิต ด้วยการฆ่าตัวตายของคนทุกวันนี้ ต้องบอกว่า ล้วนมีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยด้วย โรคซึมเศร้า ติดอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่คนๆ นั้นป่วยด้วย โรคซึมเศร้า มักนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง หรือการพยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งส่วนมากมักเป็นผู้หญิง แต่ผู้ที่ฆ่าตัวตายได้สำเร็จ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชาย!!!
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ หรือ หมอเบิร์ท อดีตนางสาวไทย ปี 2542 ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้สัมภาษณ์แพรวดอทคอมถึงต้นเหตุของโรคซึมเศร้า(Major Depressive Disorder)ว่าเกิดจากสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitter) มีความผิดปรกติ หรือเสียสมดุลย์ คนทั่วไปเจอเรื่องร้ายๆ แล้วรู้สึกเศร้า แต่คนไข้โรคซึมเศร้า ไม่ต้องเจออะไรมากระทบ ก็รู้สึกเศร้า หรือนั่งร้องไห้ โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
คนทั่วไปอาจนึกภาพคนเป็นโรคซึมเศร้า ว่าต้องนั่งเศร้า ซึม ร้องไห้ แต่ที่จริงแล้ว โรคซึมเศร้าคือชื่อของโรค คนไข้ส่วนใหญ่มักแต่งหน้าสวย ทำผม แต่งตัวมีสีสัน เขาอาจนั่งหัวเราะเฮฮาปาร์ตี้ ดูไม่ออกว่าคนนี้เป็นโรคนี้อยู่ จนกว่าจะได้มีโอกาสพูดคุยกัน และบอกได้ว่ารู้สึกหดหู่ เบื่อ เซ็ง เป็นโรคที่พบบ่อย และอย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว บางครั้งผู้ที่เจ็บป่วยอาจอยู่ในครอบครัวเราก็ได้
เบิร์ทเป็นจิตแพทย์มาสิบกว่าปี พบว่าคนไข้โรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ แต่งหน้าสวย ทำผม แต่งตัวมีสีสัน เขาอาจนั่งหัวเราะเฮฮาปาร์ตี้ ดูไม่ออกว่าคนนี้เป็นโรคซึมเศร้า จนกว่าจะได้มีโอกาสพูดคุยกัน และเขาบอกได้ว่ารู้สึกหดหู่ เบื่อ เซ็ง ที่พบบ่อยคือ ขี้หงุดหงิด ขัดอกขัดใจ ขวางหูขวางตา คนรอบข้างเข้าหน้าไม่ติด หรือเมื่อก่อนดูเป็นคนร่าเริงดี จู่ๆ เกิดเบื่อหน่าย ดูไม่มีชีวิตชีวา หรือแม้กระทั่งคนไข้วัยรุ่น อาจออกแนวเกรี้ยวกราด เหวี่ยงวีน หุนหันพลันแล่น จนพ่อแม่คิดว่าเป็นพฤติกรรมวัยรุ่น แต่ที่จริงอาจเป็นโรคซึมเศร้า ส่วนที่นั่งเศร้า ร้องไห้ ที่เรียกว่า Crying Spell ตามทฤษฎีเป๊ะ ก็มีบ้าง จู่ๆ น้ำตาไหล พรั่งพรูออกมาชนิดที่ห้ามไม่ได้ ไม่มีเรื่องอะไรให้เศร้า แต่รู้สึกเศร้า และอยากร้องไห้ หรืออีกมุมหนึ่งคือคนไข้มึนชา ปราศจากความรู้สึก ไม่รู้สึกยินดียินร้ายต่อสิ่งใด
โดยหมอเบิร์ทได้แนะวิธีสังเกตว่า คนนั้นๆ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ด้วยการลองประเมินจาก 9 สัญญาณเตือนเหล่านี้ ถ้าพบว่ามีอาการ 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ก็ควรรีบไปพบแพทย์

1.       มีอารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
2.       ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
3.       ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
4.       รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
5.       ทำอะไรก็เชื่องช้าตลอด
6.       ถ้าไม่รับประทานอาหารมากขึ้น ก็รับประทานน้อยลง
7.       นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
8.       มีอะไรพลาด ตำหนิตัวเองเป็นอันดับแรก
9.       พยายามฆ่าตัวตาย

ที่น่ากลัวคือโรคนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และผู้หญิงมักเป็นมากกว่าผู้ชาย และมักแสดงอาการของโรคครั้งแรกช่วงอายุ 25-35 ปี จากการศึกษาพบว่าประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 3-4 ล้านคนของจำนวนประชากร มีทุกข์เพราะโรคซึมเศร้า แต่มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยา จิตบำบัด และสังคมบำบัด
แต่หากผู้ป่วยยอมเข้าสู่กระบวนการรักษา หมอเบิร์ทย้ำว่า ถ้ารักษาครบถ้วน ถูกต้อง เป็นระยะเวลานานพอ คนไข้ก็สามารถกลับมาเป็นคนเก่ง 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิมได้ค่ะ
ที่มาข้อมูล: นิตยสารแพรว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น. โทร. 0 2310 3027, 0 2310 3751-2
อ้างอิงจาก



วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561


1.โรค มือ เท้า ปาก
อ้างอิงจาก
https://www.youtube.com/watch?v=80_xVyJ4Iw8
3.โรคเส้นเลือดในสมองแตก
อ้างอิงจาก
https://www.youtube.com/watch?v=mMCKbSVXJj8
4.โรคไต 
อ้างอิงจาก
https://www.youtube.com/watch?v=sOWSvbqd66w
5.โรคมะเร็งเต้านม
อ้างอิงจาก
https://www.youtube.com/watch?v=UwM-VGRQ7hQ

กรุณาเรียกดูวิดีทัศน์ด้านล่าง

การดูแลผู้ป่วยโรคภาวะซึมเศร้า






ภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือที่รู้จักกันว่าโรคซึมเศร้า เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่าตนด้อยค่า แม้ความรู้สึกและอารมณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นครั้งคราว แต่อาการของภาวะซึมเศร้านั้นมีความรุนแรงและยาวนานกว่ามากจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่าง ๆ ของผู้ป่วย
โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่โดยมากมักเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 20-30 ปี โรคความผิดปกติทางอารมณ์ส่วนใหญ่จะเริ่มพัฒนามาจากช่วงวัยรุ่นที่มีความเครียดและความวิตกกังวลสูง ดังนั้น ยิ่งในช่วงวัยรุ่นประสบกับความกังวลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
จากสถิติทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณ 350 ล้านคน มีความชุกราว 2-10 เปอร์เซ็นต์ และเป็นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนในไทยมีจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าเพศหญิงเป็นอันดับที่ 3 และเพศชายเป็นอันดับที่ 8 ทั้งนี้ในปี 2557 กรมสุขภาพจิตของไทยได้คัดกรองกลุ่มเสี่ยงจำนวน 12 ล้านคน ในจำนวนนี้มีแนวโน้มป่วยโรคซึมเศร้า 6 ล้านคน ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคซึมเศร้า 5 แสนคน มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย 6 แสนคน และคาดว่าคนไทยน่าจะมีภาวะซึมเศร้าถึงประมาณ 1.2 ล้านคน
โรคซึมเศร้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง และโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดเรื้อรังเพียงโดยสังเขปด้านล่าง ส่วนบทความทั้งหมดจะเน้นไปที่โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรงเท่านั้น
โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง (Major Depression) เป็นอาการซึมเศร้าอย่างที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตการทำงานหรือการเรียน รวมไปถึงการนอนหลับและการกินอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุขอย่างรุนแรง
โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) แม้จะมีอาการและความรุนแรงของอาการน้อยกว่า แต่ภาวะซึมเศร้าชนิดนี้จะคงอยู่กับผู้ป่วยยาวนานกว่ามาก เป็นเวลาอย่างน้อยตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังก็อาจมีบางช่วงเวลาที่ต้องเผชิญภาวะซึมเศร้าชนิดรุนแรงร่วมด้วย
อาการของโรคซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรค เพศ หรืออายุ โดยอาจมีอารมณ์เศร้า หดหู่ วิตกกังวล มีความรู้สึกว่าตนไร้ค่า โดดเดี่ยว สิ้นหวัง หงุดหงิดง่าย ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะมีความรุนแรงและคงอยู่ยาวนานกว่าปกติ ทั้งยังสามารถส่งผลกระทบทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้าตลอดเวลา เจ็บปวดตามร่างกาย นอนหลับยากหรือหลับมากเกินไป หรือมีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคม ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่ได้ หมดความสนใจในเรื่องที่เคยชอบ ไปจนถึงการคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองได้
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุและปัจจัยประกอบกันจนพัฒนาไปเป็นภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การทำงานของสมองบางส่วนที่ผิดปกติและมีระดับของสารเคมีไม่สมดุลกัน ลักษณะนิสัยเดิมของผู้ป่วยที่เอื้อต่อการเผชิญภาวะซึมเศร้า เหตุการณ์ตึงเครียดในชีวิตและการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง รวมถึงอาการป่วยจากโรคและการใช้ยารักษาโรคที่ตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงในลักษณะอาการซึมเศร้า
การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า
แพทย์มักวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการพูดคุยสอบถามถึงอาการ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ มีความรุนแรงระดับใด โดยใช้ชุดคำถามมาตรฐานในการตรวจสอบ จากนั้นหากเข้าข่ายจะตรวจร่างกาย เช่น ตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าภาวะซึมเศร้าที่สงสัยไม่ได้เป็นเกิดจากโรคอื่น ๆ เนื่องจากการรักษาที่โรคต้นเหตุจะเป็นการรักษาภาวะซึมเศร้าโดยตรง แล้วพิจารณาถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมในขั้นต่อไป
การรักษาโรคซึมเศร้า
การรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบัน หลัก ๆ มีด้วยกัน 3 วิธี คือ การใช้ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) การพูดคุยบำบัดทางจิต (Psychotherapy) และการกระตุ้นเซลล์สมองและประสาท (Brain Stimulation Therapies) โดยมากแพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาต้านซึมเศร้าและการพูดคุยบำบัดกับผู้ป่วยควบคู่กันไป ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงมาก มีพฤติกรรมมุ่งทำร้ายทำตัวเองหรือฆ่าตัวตาย จึงจะเลือกใช้การกระตุ้นเซลล์สมองและประสาทเพื่อรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้แพทย์ยังต้องพิจารณาอีกด้วยว่าจะใช้ยาตัวใด การพูดคุยบำบัด และการกระตุ้นเซลล์สมองรูปแบบใดจึงจะปลอดภัยและเหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้น ๆ ที่สุด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคซึมเศร้า
ภาวะทางจิตใจที่ย่ำแย่สามารถส่งผลในหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย พฤติกรรม และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ในที่สุด เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของร่างกาย เช่น เจ็บปวดตามส่วนต่าง ๆ รอบเดือนผิดปกติ มีปัญหาทางเพศ ปัญหาด้านการนอนหลับ พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ น้ำหนักเกิน และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ และโรคเบาหวานตามมาในที่สุด
การป้องกันโรคซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่นอน เนื่องจากสาเหตุอาจเกิดจากโรคบางประการ เช่น ความผิดปกติในสมอง อาการเจ็บป่วย หรือการใช้ยาที่เกิดภาวะซึมเศร้าแทรกซ้อนได้ ถือว่าเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุม แต่การสร้างพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีด้วยการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกาย การรักษาสภาวะอารมณ์ให้แจ่มใสด้วยการทำกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานและผ่อนคลาย นับเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะซึมเศร้าได้
อ้างอิงจากเว็บไซด์
https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2

นวัตกรรมโรคภาวะซึมเศร้า '2-9-8 Q' รหัสนวัตกรรมเฝ้าระวัง โรคซึมเศร้า ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ! 350 ล้านคน คือ ตัวเลขของคนที่...